บทที่2
โครงสร้างของระบบปฎิบัติการคอมพิวเตอร์และโครงสร้างของระบบปฎิบัติการ
ปฏิบัติการของระบบคอมพิวเตอร์
(computer-system operation)
ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ปัจจุบันประกอบด้วย ซีพียู และกลุ่มของตัวควบคุมอุปกรณ์ (device controller) ซึ่งเชื่อมต่อเพื่อเข้าถึงหน่วยความจำผ่านทางบัสระบบ (system bus)
อุปกรณ์แต่ละชนิดจะมีตัวควบคุมอุปกรณ์เฉพาะแยกจากกัน โดยมี local buffer
ซีพียูและตัวควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมดสามารถทำงานไปพร้อมๆ กันได้
ซีพียูจะย้ายข้อมูลเข้า/ออกระหว่างหน่วยความจำหลักกับ local buffer
ตัวควบคุมอุปกรณ์จะบอกซีพียูว่าอุปกรณ์ทำงานเสร็จแล้วหรือยังโดยวิธีขัดจังหวะ (interrupt)
DMA (Direct Memory Access) หรือการส่งเข้าถึงข้อมูลในหน่วยความจำโดยตรง คือกระบวนการโอนย้ายข้อมูลระหว่างหน่วยความจำกับอุปกรณ์ภายนอก
โดยไม่ผ่าน CPU
กระบวนการ DMA เริ่มต้นจาก
กระบวนการ DMA เริ่มต้นจาก
1. อุปกรณ์ที่ต้องการทำ DMA ส่งสัญญาณ DREQ เพื่อร้องขอทำ DMA ไปยัง DMA controller ในช่องทาง (channnel) ที่ต้องการ
2.
เมื่อ DMA controller ได้รับสัญญาณ
ก็จะตรวจสอบก่อนว่าสามารถอณุญาติให้ทำ DMA ได้หรือไม่แล้วจึงส่งสัญญาณ
HRQ เพื่อบอก CPU ว่าต้องการเข้ามาใช้ BUS
โดยส่งสัญญาณนี้ไปยังของ HOLD ของ CPU
3.
เมื่อ CPU ได้รับสัญญาณ HRQ จาก DMA controller ที่ขา HOLD และพร้อมที่จะตอบสนองก็จะส่งสัญญาณ HLDA หรือ Hold
Acknowledge ตอบกลับไปยัง DMA controller เพื่อแสดงว่า
CPU ได้ปลดตัวเองและปล่อยการควบคุม แล้วจะส่งหน้าที่ต่างๆให้
DMA controller รับไปดำเนินการ
4.
เมื่อ DMA controller ได้รับสัญญาณ HLDA
แล้วก็เข้าควบคุม address bus และ controller
bus และส่งสัญญาณ DACK ตอบกลับไปยังอุปกรณ์เพื่อแสดงถึงการพร้อมสำหรับเริ่มต้นส่งข้อมูล
5.
การส่งข้อมูลจะเริ่มต้นโดยจะส่งสัญญาณ AEN ส่งสัญญาณ
คือ address แรกของหน่วยความจำเป้าหมายออกไปที่ address
bus และส่งสัญญาณไปควบคุมการเขียนและอ่านหน่วยความจำกับอุปกรณ์กับอุปกรณ์ออกไป
เพื่อดำเนินการย้ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์กับหน่วยความจำ
6.
เมื่อข้อมูลโอนย้ายจนครบสมบูรณ์แล้วก็จะเข้าสู่กระบวนการยกเลิก DMA
โดย DMA จะส่งสัญญาณ EOP หรือ End Of Process ออกไป
7.
ส่งผลให้สัญญาณ AEN ตกลงเป็น LOW เพื่อคืน bus ให้กับ CPU และ HRQ
จาก DMA controller ที่ไปของให้ CPU
HOLD ก็จะหายไป เพื่อให้ CPU กลับมาดูแล bus
ต่างๆดังเดิม
8.เมื่อสัญญาณที่ร้องของ HOLD หายไป CPU ก็จะรับรู้และจะตอบสนองโดยยกเลิกสัญญาณ HLDA เพื่อแสดงว่าตอนนี้
CPU กลับมาดูแลระบบแล้ว
ลำดับชั้นของหน่วยความจำ (Memory Hierarchy)
หน่วยความจำมีอยู่หลายชนิดด้วยกันแต่ละชนิดต่างก็มีอัตราความเร็วที่แตกต่างกัน
รวมทั้งขนาดความจุและราคาที่แตกต่างกัน สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า
เพื่อให้เราเลือกหน่วยความจำใช้งานได้อย่างเหมาะสมนั้นเอง
|
หน่วยความจำชั่วคราว (Volatile memory)
คือหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องมีไฟฟ้าเลี้ยงตลอดเวลาตราบเท่าที่ยังต้องการให้มันเก็บข้อมูลนั้นอยู่หรืออีกนัยหนึ่งก็คือหากไม่ได้รับไฟฟ้าเลี้ยงแล้วข้อมูลที่เคยเก็บอยู่ในหน่วยความจำชั่วคราวก็จะหายไป
ตัวอย่างของหน่วยความจำชั่วคราวก็คือ แรมชนิดต่างๆ ตรงกันข้ามกับหน่วยความจำถาวรที่ยังรักษาข้อมูลอยู่แม้ว่าจะไม่มีไฟฟ้าเลี้ยงแล้วก็ตาม
หน่วยความจำถาวร (Non-volatile
memory) คือหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บรักษาข้อมูลได้อยู่โดยไม่ต้องอาศัยไฟฟ้า
ตัวอย่างหน่วยความจำถาวรเช่น รอม, แฟลช ยังรวมถึงหน่วยเก็บข้อมูลด้วยแม่เหล็ก เช่น hard
disks,floppy
disks หน่วยเก็บข้อมูลด้วยแสง เช่น แผ่นCD
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น